สื่อวีดิทัศน์การสอน เรื่อง :: โครงสร้างของภาษาภาษาซี ::

———————————————————————————————————————————

โครงสร้างของภาษาภาษาซีแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ 1

——————————————————————————————————————————

1. ส่วนหัวของโปรแกรม 1
        ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์กระทำการใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรมในที่นี่คำสั่ง #include <stdio.h> ใช้บอกกับคอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ
คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด Preprocessing Directives นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
        คำสั่งที่ใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมสามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
        #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเรกทอรีที่ใช้ สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีชื่อ include)
        #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์” คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์ Source Code นั้น แต่ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ

——————————————————————————————————————————

2. ส่วนของฟังก์ชันหลัก 1
        ฟังก์ชันที่กำหนดชึ้นมาชื่อฟังก์ชัน main() โดยทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชัน main() ทำหน้าที่เป็นฟังก์ชันหลักในการทำงานในการประมวลผลโปรแกรมทุกครั้ง
        ฟังก์ชันหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชัน main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชันนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชันคือ main แปลว่า “หลัก” ดังนั้น การเขียนโปรแกรมภาษาซีจึงขาดฟังก์ชันนี้ไปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟังก์ชันจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชันจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชัน main() สามารถเขียนในรูปแบบของ int main ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายความว่า ฟังก์ชัน main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (Argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชัน และจะมีการคืนค่ากลับออกไปจากฟังก์ชันด้วย

main()    เทียบเท่ากับ    void main(void) ----> ไม่คืนค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟังก์ชัน

        Argument    คือ  ตัวรับค่าเข้ามาในฟังก์ชัน
        
Parameter   คือ  ค่าที่ส่งไปยังฟังก์ชันค่า Argument และ Parameter ต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เช่น หากกำหนดให้ Argument เป็นข้อมูลชนิดตัวอักษรแล้วค่า Parameter ที่ส่งไปก็ต้องเป็นชนิดตัวอักษรด้วย

        ตัวอย่างที่ 1 argument และ parameter

1:
2:
3:
4:
5:
6:
7:
8:
9:
#include <stdio.h>
void show (char a) -----------> Argument รับตัวอักษร 'a' มาในฟังก์ชัน
{
        printf("%c",a) ;
}
void main(void) Parameter ส่งตัวอักษร 'a' ไปยังฟังก์ชัน show( )
{
        show('a') ;
}

——————————————————————————————————————————

3. ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม 1
         เป็นส่วนของการเขียนคำสั่งต่าง ๆ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ในการเขียนคำสั่งจะเขียนภายในเครื่องหมายปีกกาเปิด { และเครื่องหมายปีกกาปิด } โดยปกติส่วนของการเขียนโปรแกรมจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
          1) ส่วนของการประกาศตัวแปร คือ ส่วนที่ใช้ในการกำหนดตัวแปรที่จะใช้งานในการเขียนโปรแกรม
          2) ส่วนของคำสั่ง หรือ ฟังก์ชันต่าง ๆ คือ ส่วนที่ใช้ในการกำหนดตัวแปรที่จะใช้งานในการเขียนโปรแกรมพิมพ์ฟังก์ชันเสร็จแล้วจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน ; เสมอ

——————————————————————————————————————————

4. ส่วนของการเปิดโปรแกรมและปิดโปรแกรม 1
         ตามโครงสร้างของภาษาซีจะต้องมีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจบโปรแกรม โดยในที่นี้ใช้เครื่องหมาย
ปีกกาเปิด { ในการระบุตำแหน่งการเริ่มต้นโปรแกรม และใช้เครื่องหมายปีกกาปิด } ในการระบุตำแหน่งการจบโปรแกรม

(แหล่งข้อมูล...  คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C ฉบับสมบูรณ์ / อรพิน ประวัติบริสุทธิ์)
(แหล่งข้อมูล...  การเขียนโปรแกรมภาษา C / จีระพงษ์ โพพันธ์)

——————————————————————————————————————————