สื่อวีดิทัศน์การสอน :: สรุป บทเรียนที่ 5 การแสดงผลบนจอภาพและรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด ::

——————————————————————————————————————————

1. รหัสรูปแบบ (Format Code) 1
         ในการแสดงผลบนจอภาพและรับค่าข้อมูลนั้น จะต้องอาศัยรหัสรูปแบบ (Format Code)
เข้ามาช่วย เนื่องจากชนิดของข้อมูลที่ต้องการแสดงผล หรือรับค่าข้อมูลนั้นมีความแตกต่างกัน อาทิเช่น
ชนิดข้อมูลแบบจำนวนเต็ม อักขระ ข้อความ เป็นต้น
         ดังนั้นรหัสรูปแบบจะต้องถูกกำหนดให้ตรงกับชนิดของข้อมูลที่ต้องการนำมาแสดงและรับค่าข้อมูล อาทิเช่น %c , %s เป็นต้น

——————————————————————————————————————————

2. อักขระควบคุมการแสดงผล 1
         ในการแสดงผลนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ถึงอักขระพิเศษที่ใช้ควบคุมการแสดงผล (Carriage Control) ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลนั้นสมบูรณ์มากขึ้น อาทิเช่น \n , \t , \r เป็นต้น ในการแสดงผลข้อมูล
บนจอภาพนั้น สามารถใช้ฟังก์ชันในการแสดงผลได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียน โดยจะมีฟังก์ชันที่ใช้งานเพื่อการแสดงผลอยู่ 3 ฟังก์ชันคือ
                  1. ฟังก์ชัน printf( )
                  2. ฟังก์ชัน putchar( )
                  3. ฟังก์ชัน puts( )

——————————————————————————————————————————

3. การรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด 1
         สำหรับการรับค่าทางคีย์บอร์ดนั้นก็เป็นอีกงานหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็ตามก็จะต้องมีการนำค่าต่าง ๆ เข้ามาประมวลผลเพื่อหาคำตอบให้กับผู้ใช้งาน
ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเลือกฟังก์ชันในการรับค่าจากคีย์บอร์ดให้เหมาะสมกับงานที่ทำ การรับค่าทางคีย์บอร์ดนั้นจะมีฟังก์ชันในการรับข้อมูลด้วยกัน 4 ฟังก์ชันคือ
                  1. ฟังก์ชัน scanf( )
                  2. ฟังก์ชัน getch( )
                  3. ฟังก์ชัน getchar( )
                  4. ฟังก์ชัน gets( )

——————————————————————————————————————————