สื่อวีดิทัศน์การสอน :: สรุป บทเรียนที่ 8 ฟังก์ชัน (Function) ::

———————————————————————————————————————————

ฟังก์ชัน (Function) 1
        เป็นการเขียนคำสั่งหลาย ๆ คำสั่งมารวมกันไว้ภายในเครื่องหมาย { } เพื่อให้คำสั่งเหล่านั้นทำงานตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของการทำงานนั้น ๆ และมีการตั้งชื่อกลุ่มคำสั่งนั้น ๆ ใหม่ เรียกว่า ชื่อฟังก์ชัน (Function_Name) ประโยชน์ของการเขียนฟังก์ชันนั้น เพื่อทำให้ไม่ต้องเขียนชุดคำสั่งเดิม ๆ หลายครั้ง และช่วยให้การเขียนคำสั่งที่มีความซับซ้อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ฟังก์ชันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
        1. ฟังก์ชันมาตรฐาน (Standard Function) เป็นฟังก์ชันที่มีมาพร้อมกับตัวแปลภาษา C ที่สามารถเรียกใช้งานได้ไม่ต้องเขียนขึ้นเอง เช่น ฟังก์ชันคำนวณทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันในการแสดงผลข้อมูล ฟังก์ชันจัดการเกี่ยวกับข้อความ เป็นต้น
        2. ฟังก์ชันที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง (User-Define Function) เป็นฟังก์ชันที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งส่วนใหญ่เขียนขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา การคำนวณตามสูตรต่าง ๆ และตอบสนองกับความต้องการในการใช้งาน

———————————————————————————————————————————

การรับส่งค่าของฟังก์ชัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ 1
        1. ฟังก์ชันที่ไม่มีการรับส่งค่า เป็นฟังก์ชันที่เขียนใช้งานง่ายที่สุด และไม่มีความซับซ้อน เป็นฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าตัวแปรใด ๆ เข้ามาในฟังก์ชัน และไม่มีการส่งค่าใด ๆ กลับออกไป ฟังก์ชันชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับงานแสดงผลเป็นส่วนใหญ่
        2. ฟังก์ชันที่มีการรับค่าเข้ามา เป็นฟังก์ชันที่จะต้องรับค่าตัวแปรเข้ามาทำงานในฟังก์ชัน ซึ่งค่าที่ส่งเข้ามานั้นจะต้องตรงกับชนิดของตัวแปรที่ประกาศไว้ในฟังก์ชันนั้นด้วย
        3. ฟังก์ชันที่มีการรับค่าเข้ามา แล้วส่งผลลัพธ์กลับคืน เป็นฟังก์ชันที่จะต้องมีการนำค่าตัวแปรเข้ามาประมวลผลในฟังก์ชัน และเมื่อประมวลผลได้คำตอบแล้วจะต้องมีการส่งค่าของผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้กลับออกไปสู่โปรแกรมหลัก (Main Program)

———————————————————————————————————————————